top of page

1.เบื้อหอยคล้องคอ

e4.png

 ปลือกหอยในวิถีชีวิตของคนไทย

       หอยเบี้ยจักจั่น หรือ เบี้ยจั่น เป็นหอยทะเลฝาเดียวชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่ยุคโบราณ โดยใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนสิ่งของแทนเงินตราในปัจจุบัน

 

      นอกจากนี้แล้วยังมีความเชื่อเกี่ยวกับหอยเบี้ยมากมาย โดยเฉพาะความเชื่อของคนโบราณ ซึ่งมีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับหอยเบี้ยที่ค่อนข้างแตกต่างกันไปอย่างมากมาย

      บ้างก็มีความเชื่อว่าการแขวนเบี้ยจั่นจะสามารถป้องกันการเจ็บไข้ได้ป่วย และฟันผุได้ บ้างก็ว่า เอาไปฝนละลายกับน้ำมะนาว ช่วยแก้โรคปัสสาวะไม่ออกได้ หรือการพก ?เบี้ยแก้? อันเป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง ว่ากันว่าทำจากเบี้ยจั่นที่บรรจุปรอทแล้วเปิดทับด้วยชันโรงใต้ดิน อาจจะมีแผ่นทองแดงลงอักขระยันต์หรือไม่ก็ได้

 

         เชื่อกันว่า ถ้าพกเบี้ยชนิดนี้ไว้กับตัวเวลาเดินทางรอนแรมในป่า จะช่วยป้องกันไข้ป่า รวมถึงป้องกัน และแก้ไขภยันอันตรายจากร้ายให้กลายเป็นดีได้ และสุดท้ายความเชื่อที่ว่าคนโบราณนิยมผูกตัวเบี้ยไว้ที่ข้อมือเด็ก ด้วยเชื่อว่าเบี้ยจะสามารถป้องกันภูตผีปีศาจได้นั่นเอง

 

        การขุดพบซากเปลือกหอยร่วมกับหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานได้ว่า มนุษย์มีความเกี่ยวข้องกับหอยมาเป็นเวลาช้านาน นอกจากนำเนื้อหอยมาเป็นอาหาร เปลือกหอยยังนำมาใช้ในวิถีชีวิตของคนไทย ตั้งแต่อดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลายอย่าง   คือเพื่อใช้เป็นเครื่องรางของขลัง 

มีหลักฐานจากกรุวัดราชบูรณะพบหอยเบี้ยหุ้มทองคำสำหรับห้อยคอ เชื่อกันว่า หอยเบี้ยเป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้า ทำให้โรคภัยไข้เจ็บและเสนียดจัญไรหมดไป ถือเป็นของมงคลประจำบ้าน

2.หอยเบี้ย

       หอยเบี้ยขนาดเล็ก  ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน [currency] ที่ถูกใช้อย่างกว้างขวางในสังคมดั้งเดิมทั่วโลก ก่อนที่จะมีการนำเอาโลหะเช่นเงิน ทอง หรือ โลหะผสมอื่นๆ แทนที่ในฐานะเงินตรา ดังนั้นจึงและมีการใช้เป็นเครื่องประดับ  เป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะ  และเงินตราในการแลกเปลี่ยนสินค้าในหมู่ผู้คนมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงเมื่อมีการแทนที่ด้วยเหรียญโลหะและธนบัตร เริ่มจากอินเดีย ได้แพร่ไปสู่อัฟกานิสถาน ไปสู่เปอร์เซีย แล้วจึงเข้าสู่ยุโรป ในแถบรอบทะเลสาบแคสเปียน เยอรมัน ลิธัวเนีย ชายฝั่งทวีปอเมริกัน  อินโด - แปซิฟิค  ทะเลแดง อียิปต์โบราณ และแอฟริกาในภาคพื้นทวีป  มีการใช้หอยเบี้ย ซึ่งเป็นหอยเบี้ยขนาดเล็ก ขนาดโดยเฉลี่ยราว ๑ นิ้ว ผิวสีขาวนวลหรือมีแถบเหลือง  

หมู่เกาะมัลดีฟในมหาสมุทรอินเดียเป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของการเก็บหอยเบี้ย

3.เบี้ยแก้

       เบี้ยแก้ คือเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง มีกันมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่า มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา หรืออาจจะนานกว่านั้น มีตำราการสร้างเบี้ยแก้ตกทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เบี้ยแก้ก็คือการนำเอาหอยเบี้ย ที่เรียกว่าเบี้ยพลู และเบี้ยจั่น ซึ่งเป็นหอยชนิดหนึ่ง และในยุคหนึ่งเคยนำมาเป็นเบี้ยแทนเงินตราในการซื้อ–ขาย ความเชื่อในอินเดียทางศาสนาฮินดู มีความเชื่อว่าเป็นตัวแทนพระลักษมี นิยมห้อยคอเด็ก เพื่อปกป้องคุ้มครองสรรพอันตรายต่างๆ ในวรรณคดีของไทยเราก็ยังกล่าวถึงเรื่อง เบี้ยแก้ไว้มากมาย เช่น ในเรื่องขุนช้างขุนแผน และเรื่องอิเหนา เป็นต้นเบี้ยแก้ที่เป็นเครื่องรางของขลังของไทยเรา เท่าที่ปรากฏหลักฐาน เป็นที่นิยมกันนั้น ทำมาจากเบี้ยพลู และเบี้ยจั่น โดยมีการบรรจุปรอทเข้าไปไว้ในท้องเบี้ย แล้วจึงอุดด้วยชันโรงใต้ดินปิดทับ บ้างก็หุ้มด้วยตะกั่วหรือผ้าแดงอีกครั้งหนึ่ง มีการลงอักขระลงยันต์ต่างๆ ตามสูตรของแต่ละอาจารย์ จากนั้นบ้างก็นำไปถักเชือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง เพื่อสะดวกในการพกติดตัวด้วยการคาดเอว หลังจากถักเชือกแล้ว ก็มีการลงรักหรือทายางมะพลับ เพื่อให้เชือกมีความคงทนในการใช้งานพุทธคุณของเบี้ยแก้นั้น มีความเชื่อว่าใช้ในการแก้และกันสามารถคุ้มครองป้องกันมิให้สิ่งชั่วร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บ คุณไส ไม่สามารถทำร้ายได้ และปกป้องคุ้มครองผู้ที่มีเบี้ยแก้ให้พ้นภัยต่างๆ ได้ หรือแก้กันสิ่งอัปมงคลต่างๆ

bottom of page