พิพิธภัณฑ์ผู้พันไก่สะสมของโบราณพิษณุโลก
ยินดีต้อนรับเข้าสู่พิพิธภัณฑ์สะสมของโบราณผู้พันไก่พิษณุโลกโดย พันเอกเกียรติกุล ก่อพงศาสตร์
อุปกรณ์ทำยา

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรุงยา
1. เครื่องหั่นยา เป็นมีดที่ติดอยู่กับแท่นเพื่อสะดวกในการหั่นสมุนไพร


ไว้ใช้หั่นยาสมุนไพรที่แข็งหรือมีขนาดใหญ่
2. บุ้งกรางยา ใช้สำหรับขูดสมุนไพรที่แข็ง เช่น แก่นไม้จันทน์ เพื่อให้สามารถนำไปบดให้ละเอียดได้ง่ายขึ้น

3. เครื่องบดยา แต่เดิมใช้ครกตำสมุนไพรที่ได้จากการหั่นหรือการขูดด้วยบุ้ง ต่อมาได้พัฒนาขึ้นโดยใช้เครื่องบดยารางยาว ซึ่งประกอบด้วยรางเหล็กและลูกกลิ้งกลมขอบคม ลูกกลิ้งจะยึดติดกับคันโยก ผู้บดจะต้องโยกคันเพื่อให้ลูกกลิ้งบดสมุนไพรจนเป็นผง ชาวจีนอา จใช้วิธีเหยียบคันโยก แต่แพทย์ไทยถือว่ายาเป็นของสูงจึงไม่ใช้เท้า ในปัจจุบันเครื่องบดยาได้พัฒนาขึ้นเป็นแบบรางกลมและใช้ไฟฟ้า

4. ตะแกรงร่อนยา เดิมแพทย์ไทยใช้ไม้ไผ่สาน แต่ต่อมาได้รับอิทธิพลจากชาวจีน จึงทำเป็นตะแกรงรูปกลมมีขอบสูงประมาณ ๒-๓ นิ้ ว ใช้ผ้าขึงที่ก้น ขอบทำด้วยไม้ไผ่

5. หินบดยา แม้ว่าจะนำสมุนไพรไปบดด้วยเครื่องบดยาแล้วก็ตาม สมุนไพรที่จะนำไปใช้ทำยาเม็ดอาจไม่ละเอียดพอ จึงจำเป็นต้องนำมาบดอีกครั้งด้วยหินบดยา ซึ่งประกอบด้วยแท่นหินและลูกบด ผู้บดจะจับลูกบดบดไปมาบนตัวยาที่วางอยู่บนแ ท่น นอกจากจะบดให้ละเอียดมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการผสมให้ตัวยาหลายชนิดเข้ากันเป็นเนื้อเดียวอีกด้วย หินบดยามีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดพอรับประทานแต่ละครั้ง จนถึงขนาดใหญ่บดผงยาจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วยังมีหินบดยาสำหรับการกวาดยา ซึ่งเป็นแท่นหิน มีลักษณะเป็นแอ่งตื้นและมีปากเพื่อเทยา

6. หินฝนยา เป็นแท่นหิน มีแอ่งอยู่ปลายด้านหนึ่ง เพื่อรองรับตัวยา และน้ำยา ใช้สำหรับฝนยาหมู่ เช่น นวเขี้ยว หรือฝนตัวยา เพื่อทำน้ำกระสายยา


7. โกร่งบดยา ใช้บดยาจำนวนน้อยเพื่อรับประทานแต่ละครั้ง
8. ตะแกรงตากยา เป็นภาชนะทำด้วยไม้ไผ่สาน ต่อมาได้ปรับปรุงเป็นถาดโลหะเคลือบ หรืออะลูมิเนียม

9. พิมพ์อัดเปียก เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำยาเม็ด ท ำด้วยทองเหลือง มีขนาดต่างๆกัน ใช้สำหรับทำยา
เม็ดที่ใช้น้ำในการผสม ถ้ายาเม็ดผสมน้ำผึ้งอาจจะใช้รางยาซึ่งเป็นเครื่องมือทำยาจีนแทนการปั้นเป็นเม็ดด้วยมือ

การทำยาเม็ดแบบปั๊มมือหรือแบบพิมพ์มือ (พิมพ์ทองเหลือง)
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
-
เครื่องปั๊มยาด้วยมือ (แบบพิมพ์มือ เป็นพิมพ์ทองเหลือง)
-
แผ่นกระจกใส 1 แผ่น
-
กาต้มน้ำขนาดใหญ่
-
กะละมังขนาดใหญ่, ขนาดกลาง
-
ผ้าสะอาดผืนเล็ก
-
ถาดใส่ยาเม็ม
-
ยาผง
-
แป้งมัน
การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์
-
นำน้ำเดือดเทราดพิมพ์มือทองเหลือง และกระจกแผ่นใส เช็ดให้แห้งสนิทด้วยผ้าสะอาด และใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดอีกครั้งหนึ่ง ทิ้งให้ระเหยแห้งก่อนนำยามาพิมพ์มือ
-
วางกระจกแผ่นใสบนโต๊ะ และวางพิมพ์มือทองเหลืองบนกระจกแผ่นใส
วิธีทำยาเม็ด
-
กวนแป้งมันกับน้ำให้ใส (เป็นแป้งเปียกใส) ในปริมาณที่พอเหมาะกับยาผง
-
นำยาผงมาผสมกับแป้งเปียก คลุกเคล้าจนเข้ากันดี
-
นำยาที่ผสมแล้วมาพอประมาณ แผ่เป็นแผ่นกระจก แล้วนำพิมพ์มือทองเหลืองกดลงบนยา
-
กดยาที่พิมพ์แล้วออกจากพิมพ์ทองเหลือง ใส่ลงในถาดที่เตรียมไว้
-
นำยาที่พิมพ์เสร็จ เข้าตู้อบอุณหภูมิ 50 – 55 องสาเซลเซียส ประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง
-
เก็บยาเม็ดใส่ขวดโหลแก้วสะอาด ปิดฝาให้มิดชิด
วิธีเก็บเกี่ยวสมุนไพร
การปรุงยาให้มีคุณภาพนั้น นอกจากจะต้องรู้หลัก และวิธีการปรุงยาแล้ว จะต้องรู้วิธีเก็บเกี่ยวสมุนไพรอีกด้วย ตำราแพทย์ไทยจึงได้กำหนดวิธีการเก็บไว้ ๔ อย่างคือ เก็บตามฤดู เก็บตามทิศทั้งสี่ เก็บตามวันและเวลา และเก็บตามยาม และได้อธิบายวิธีเก็บไว้ดังนี้
๑. เก็บตามฤดู มีดังนี้
๑.๑ คิมหันตฤดู (ฤดูร้อน) เก็บราก และแก่น
๑.๒ วสันตฤดู (ฤดูฝน) เก็บใบ ลูก และดอก
๑.๓ เหมันตฤดู (ฤดูหนาว) เก็บเปลือก กระพี้ และเนื้อไม้
๒. เก็บตามทิศทั้งสี่ ได้แก่
๒.๑ วันอาทิตย์ และวันอังคาร เก็บ ทางทิศตะวันออก
๒.๒ วันพุธ และวันศุกร์ เก็บทางทิศ ใต้
๒.๓ วันจันทร์ และวันเสาร์ เก็บทาง ทิศตะวันตก
๒.๔ วันพฤหัสบดี เก็บทางทิศเหนือ การเก็บสมุนไพรตามทิศนี้ให้ถือตัวผู้ เก็บเกี่ยวเป็นศูนย์กลาง
๓. เก็บตามวันและเวลา
๓.๑ วันอาทิตย์ เช้าเก็บต้น สายเก็บใบ เที่ยงเก็บราก เย็นเก็บเปลือก
๓.๒ วันจันทร์ เช้าเก็บใบ สายเก็บ แก่น เที่ยงเก็บต้น เย็นเก็บเปลือก
๓.๓ วันอังคาร เช้าเก็บใบ สายเก็บ เปลือก เที่ยงเก็บต้น เย็นเก็บราก
๓.๔ วันพุธ เช้าเก็บราก สายเก็บเปลือก เที่ยงเก็บต้น เย็นเก็บแก่น
๓.๕ วันพฤหัสบดี เช้าเก็บแก่น สาย เก็บใบ เที่ยงเก็บราก เย็น เก็บเปลือก
๓.๖ วันศุกร์ เช้าเก็บใบ สายเก็บราก เที่ยงเก็บเปลือก เย็นเก็บต้น
๓.๗ วันเสาร์ เช้าเก็บราก สายเก็บต้น เที่ยงเก็บเปลือก เย็นเก็บใบ
๔. เก็บตามยาม (ยามเป็นชื่อส่วนของวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง ยาม ๑ เริ่มตั้งแต่ ๐๖.๐๐ น.)
๔.๑ กลางวัน
ยาม ๑ เก็บใบ ดอก และลูก
ยาม ๒ เก็บกิ่ง และก้าน
ยาม ๓ เก็บต้น เปลือก และแก่น
ยาม ๔ เก็บราก
๔.๒ กลางคืน
ยาม ๑ เก็บราก
ยาม ๒ เก็บต้น เปลือก และแก่น
ยาม ๓ เก็บ กิ่ง และก้าน
ยาม ๔ เก็บใบ ดอก และลูก
ประโยชน์ของการเก็บเกี่ยวตามที่ตำราแพทย์ไทยได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ ก็เพื่อ
๑. สงวนพันธุ์ของสมุนไพรไว้มิให้สูญไป โดยไม่เก็บจากบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ
๒. ให้ได้ตัวยาที่มีสรรพคุณดี เพราะสรรพคุณของตัวยาขึ้นกับดินฟ้าอากาศ
๓. ให้ได้ตัวยาถูกต้องตามที่ตำราได้กำหนด ไว้
จากการวิจัยในปัจจุบันพบว่า ปริมาณของสารสำคัญในการออกฤทธิ์รักษาอาการเจ็บป่วยที่ได้จากส่วนต่าง ๆ ของสมุนไพรมีมากน้อยแตกต่างกัน ตามระยะของการเจริญเติบโตของพืช การเก็บสมุนไพรให้ได้สารสำคัญสูง จึงมีหลักการดังต่อไปนี้
ส่วนของรากและลำต้นใต้ดิน ให้เก็บหลังจากต้นเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนจะออกดอก
ส่วนของเปลือกต้น ให้เก็บก่อนที่พืชจะเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนที่จะออกดอก
ใบและยอด ให้เก็บตอนที่เริ่มออกดอก
ดอก ให้เก็บก่อนที่จะมีการผสมเกสร
ผล ให้เก็บก่อนหรือหลังผลสุก
เมล็ด ให้เก็บเมื่อเมล็ดแก่เต็มที่
สมุนไพรบางชนิดจำเป็นต้องผึ่งให้แห้งก่อนจะเก็บไว้ โดยทั่วไปจะใช้วิธีผึ่งแดด หรือผึ่งให้แห้งในร่ม ถ้าจะอบ ไม่ควรใช้ความร้อนเกิน ๔๕ องศาเซลเซียส เพราะอาจทำให้สารสำคัญเสียไป การเก็บควรเก็บในที่แห้ง และไม่ให้ถูกแสง เนื่องจากสารสำคัญอาจถูกทำลายได้ด้วยความชื้นหรือแสง ในสมัยโบราณมักเก็บไว้ในลิ้นชัก หรือกระป๋องทึบ ซึ่งป้องกันความชื้นและแสงได้
ศัพท์ที่ใช้ในการปรุงยา
ในการปรุงยาผู้ปรุงยังจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับ คำบางคำ ได้แก่
ทั้งห้า หมายถึง ต้น ราก ใบ ดอก และผล
ส่วน หมายถึง ส่วนในการตวง (ปริมาตร) ไม่ใช่การชั่งน้ำหนัก
กระสายยา หมายถึง ตัวละลายยา เช่นน้ำ และน้ำปูนใส เป็นต้น
การสะตุ หมายถึง การแปรรูปลักษณะของบางอย่าง เช่น เกลือ สารส้ม หรือเครื่องยาให้เป็นผงบริสุทธิ์ โดยวิธีทำให้สลายตัวด้วยไฟ เพื่อให้สิ่งที่ไม่ต้องการ ซึ่งเป็นมลทิน ระเหยหมดไป หรือเพื่อให้เครื่องยามีฤทธิ์อ่อนลง โดยอาจเติมสารบางอย่าง เช่น น้ำมะนาว น้ำมะลิ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องยา หรือสมุนไพรนั้น ๆ
ประสะ มีความหมาย ๓ ประการคือ
๑. การทำความสะอาดตัวยา หรือการล้างยา เช่น การทำความสะอาดเหง้าขิง เหง้าข่า
๒. การใช้ปริมาณยาหลักเท่ากับยาทั้งหลาย เช่น ยาประสะกะเพรา มีกะเพราเป็นหลัก และตัวยาอื่น ๆ อีก ๖ ชนิด การปรุงจะใช้กะเพรา ๖ ส่วน ตัวยาอื่น ๆ อย่างละ ๑ ส่วน รวม ๖ ส่วนเท่ากะเพรา
๓. การทำให้พิษหรือสิ่งที่ไม่ต้องการของตัวยาอ่อนลง โดยที่ตัวยาที่ต้องการคงสภาพเดิม
เช่น ประสะมหาหิงคุ์ หมายถึงการทำให้กลิ่นเหม็นของมหาหิงคุ์ลดลง โดยใช้น้ำใบกะเพราต้มเดือดมาละลายมหาหิงคุ์
ใบเพสลาด หมายถึง ใบไม้ที่จวนแก่
กำหนดอายุของยา
จะเห็นว่าการปรุงยาไทย มักใช้สมุนไพรหลายชนิด และใช้วิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลในการรักษา และคำนึงถึงความปลอดภัยไปพร้อมกัน จึงกำหนดอายุของยาไว้ด้วย ดังนี้
๑. ยาผงที่ผสมด้วยใบไม้ล้วนๆ มีอายุได้ ประมาณ ๓-๖ เดือน
๒. ยาผงที่ผสมด้วยแก่นไม้ล้วนๆ มีอายุ ได้ระหว่าง ๖-๘ เดือน
๓. ยาผงที่ผสมด้วยใบไม้และแก่นไม้อย่าง ละเท่ากัน มีอายุได้ประมาณ ๕-๖ เดือน
อายุของยาที่เป็นเม็ดเป็นแท่ง หรือลูกกลอน มีกำหนดอายุไว้ดังนี้
๑. ยาเม็ดที่ผสมด้วยใบไม้ล้วน ๆ มีอายุ ประมาณ ๖-๘ เดือน
๒. ยาเม็ดที่ผสมด้วยแก่นไม้ล้วน ๆ มีอายุ ประมาณ ๑ ปี
๓. ยาเม็ดที่ผสมด้วยหัวหรือเหง้าของ พืช รวมกับแก่นไม้ มีอายุประมาณ ๑ ปีครึ่ง
ทั้งยาเม็ดและยาผง ถ้าเก็บรักษาไว้ดี จะมี อายุยืนยาวกว่าที่กำหนดไว้ และถ้าเก็บรักษาไม่ดี ก็อาจเสื่อมเร็วกว่ากำหนดได้
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการปรุงยา
๑. ถ้าไม่ได้บอกไว้ว่า ให้ใช้สมุนไพรสดหรือแห้ง ให้ถือว่า ใช้สมุนไพรสด
๒. ยาที่ใช้กินถ้าไม่ได้ระบุวิธีปรุงไว้ ให้เข้าใจว่าใช้วิธีต้ม
๓. ยาที่ใช้ภายนอกร่างกายถ้าไม่ได้ระบุวิธี ปรุงไว้ ให้เข้าใจว่าใช้วิธีตำพอก
๔. ยากิน ให้กินวันละ ๓ ครั้งก่อนอาหาร
๕. ยาต้ม ให้กินครั้งละ ๑/๒ - ๑ แก้ว ยา ดองเหล้า และยาตำคั้นเอาน้ำกินครั้งละ ๑/๒ - ๑ ช้อนโต๊ะ ยาผง กินครั้งละ ๑-๒ ช้อนชา ยาปั้น ลูกกลอนกินครั้งละ ๑-๒ เม็ด (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ เซนติเมตร) และยาชง ให้กินครั้งละ ๑ แก้ว