top of page

ภาพถ่ายซีเปีย   ที่มีในพิพิธภัณฑ์

z2.png
               ( ภาพซีเปียรัชกาลที่ 6 )                                      ( ภาพถ่ายซีเปียรัชกาลที่ 7 )

       ซีเปีย (Sepia) เป็นสีน้ำตาลแดงที่ได้ชื่อจากรงควัตถุสีน้ำตาลจากถุงน้ำหมึกของหมึกกระดอง (หมึกกระดองคือปลาหมึกเป็นสัตว์ทะเลหรือคือปลาหมึกกระดองที่เรากินนั้นเอง)น้ำหมึกซีเปียมักใช้ในงานเขียนของอารยธรรมกรีก-โรมัน และศิลปินยังคงใช้งานมันเป็นสื่อวาดภาพจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19   เอกรงค์เทาเป็นเทคนิคจิตรกรรมที่พัฒนาในคริสต์ศตวรรษที่ 14  ซึ่งมีวิธีวาดภาพให้อยู่ในโทนสีเทา, ซีเปีย หรือเขียวเข้มอย่างเดียว ช่วง 15 ปีหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ศาสตราจารย์ยาคอบ ไซเดลมันน์ (Jacob Seydelmann) แห่งเดรสเดนได้พัฒนากระบวนการเพื่อสกัดและผลิตสีซีเปียที่มีความเข้มมากขึ้นไว้ใช้ในงานจิตรกรรมสีน้ำ และสีน้ำมัน

       โทนซีเปียเป็นกระบวนการทางเคมีที่ใช้ในการถ่ายภาพที่เปลี่ยนตัวภาพจากสีดำกับขาวให้เป็นสีน้ำตาล ปัจจุบัน สีนี้มักมีส่วนเกี่ยวโยงกับภาพถ่ายโบราณ ภาพจากโปรแกรมซอฟต์แวร์กราฟฟิกและกล้องดิจิทัลส่วนใหญ่มีฟิลเตอร์โทนซีเปีย เพื่อเลียนแบบรูปลักษณ์สิ่งพิมพ์โทนซีเปีย

bottom of page