พิพิธภัณฑ์ผู้พันไก่สะสมของโบราณพิษณุโลก
ยินดีต้อนรับเข้าสู่พิพิธภัณฑ์สะสมของโบราณผู้พันไก่พิษณุโลกโดย พันเอกเกียรติกุล ก่อพงศาสตร์
โถใส่ใบพลูสมัยสงครามโลก

โถพลู ของเราชาวบ้านมีหลายชนิด บางชนิดเหมาะสำหรับเก็บพลูสดๆ บางชนิดเหมาะสำหรับเก็บพลูแห้ง
คำว่า “พลูแห้ง” ไม่ได้หมายถึง ใบพลูที่แห้งเองตามธรรมชาติ แต่เป็นใบพลูที่ทำให้มันแห้งด้วยความร้อน ก่อนเก็บไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ ถ้าเป็นใบพลูที่ปล่อยให้แห้งเองตามธรรมชาตินั้น ไม่เหมาะสำหรับนำมากินกับหมาก หากแต่เหมาะสำหรับนำไปเป็นปุ๋ยให้พืชต่าง
โถพลูดินเผา ทำมาจากดินเผา แต่ไม่ใช่เผาธรรมดา หากแต่เผาและเคลือบสีเขียวด้วย เพื่อให้มีความคงทนถาวร ของใช้ชิ้นนี้ผลิตขึ้นมาใส่พลูแห้งโดยเฉพาะ เนื่องจากอุณหภูมิภายในจะเย็น ทำให้สิ่งของที่ใส่เข้าไปอยู่ได้นาน ไม่เน่าเสียง่าย

โถพลู ของเราชาวบ้านมีหลายชนิด บางชนิดเหมาะสำหรับเก็บพลูสดๆ บางชนิดเหมาะสำหรับเก็บพลูแห้ง
คำว่า “พลูแห้ง” ไม่ได้หมายถึง ใบพลูที่แห้งเองตามธรรมชาติ แต่เป็นใบพลูที่ทำให้มันแห้งด้วยความร้อน ก่อนเก็บไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ ถ้าเป็นใบพลูที่ปล่อยให้แห้งเองตามธรรมชาตินั้น ไม่เหมาะสำหรับนำมากินกับหมาก หากแต่เหมาะสำหรับนำไปเป็นปุ๋ยให้พืชต่าง
โถพลูดินเผา ทำมาจากดินเผา แต่ไม่ใช่เผาธรรมดา หากแต่เผาและเคลือบสีเขียวด้วย เพื่อให้มีความคงทนถาวร ของใช้ชิ้นนี้ผลิตขึ้นมาใส่พลูแห้งโดยเฉพาะ เนื่องจากอุณหภูมิภายในจะเย็น ทำให้สิ่งของที่ใส่เข้าไปอยู่ได้นาน ไม่เน่าเสียง่าย
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2482-2488 สยามเราเข้าไปอยู่ในสงครามกับเขาด้วยอย่างเลือกไม่ได้ ช่วงนั้นเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง พลูก็แพงกับเขาไปด้วย เพราะพลูเป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องกินหมาก แม้เราชาวบ้านจะมีพลูมากมายในสวน แต่การจะออกไปเก็บพลูท่ามกลางเสียงระเบิดตูมๆ ก็ไม่กล้าออกไปแม้พลูสดๆ จะกินหมากอร่อย แต่ความอร่อยท่ามกลางการเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย บวกกลบลบกันแล้วน่าจะได้ไม่เท่าเสีย
ช่วงสงคราม “พลู” มีความสำคัญมาก เพราะคนสยามยังกินหมากอยู่อย่างแข็งขัน แม้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จะชักชวนให้เลิกกินหมาก โดยออกประกาศ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2482 แต่เอาเข้าจริงเราชาวสยามก็หาได้ผ่อนเพลาการกินหมากไปได้สักเท่าใด จะทำอย่างไรได้ ก็ใจมันรักที่จะเคี้ยว “กินหมากสักคำ ฟันดำสักซี่ มีผัวสักคน แก้จนสักที” นี่เป็นคำร้องเล่นๆ ของหญิงชาวบ้านในสมัยนั้น