พิพิธภัณฑ์ผู้พันไก่สะสมของโบราณพิษณุโลก
ยินดีต้อนรับเข้าสู่พิพิธภัณฑ์สะสมของโบราณผู้พันไก่พิษณุโลกโดย พันเอกเกียรติกุล ก่อพงศาสตร์
ยินดีต้อนรับเข้าสู่พิพิธภัณฑ์สะสมของโบราณผู้พันไก่พิษณุโลกโดย พันเอกเกียรติกุล ก่อพงศาสตร์
งาช้างถูกกฎหมาย

ประวัติศาสตร์ชาติไทยแต่โบราณ ช้างถือว่าเป็นสัตว์ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองร่วมรบทำศึกสงครามกอบกู้เอกราชมาเป ็นเวลาช้านาน งาช้างเป็นของศิริมงคลใครได้มาครอบครองถือเป็นบุญและวาสนาต่อกัน (การครอบครองงาช้างไทยและขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย) ผ่านมาเมืองพิษณุโลกเชิญแวะเยี่ยมชมฟรีทุกวันเสาร์
ยินดีต้อนรับครับ

การแจ้งครอบครอง ต้องแจ้งการครอบครองตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค. 2558 - วันที่ 21 เมษายน 2558 เท่านั้น หากฝ่าฝืนไม่แจ้งการครอบครองภายในกาหนดเวลา มีโทษปรับไม่เกิน 3 ล้านบาท และหลังจากวันที่21 เมษายน 2558 ทางหน่วยงานรัฐยังมีไม่การให้ขึ้นทะเบียนครอบครองงาช้างอีกเลย
สำหรับบุคคลทั่วไป ยกเว้นการแจ้งการครอบครองให้เฉพาะในกรณีที่การครอบครองผลิตภัณฑ์งาช้างบ้านที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า ซึ่งกฎกระทรวงได้กาหนดให้บุคคลทั่วไปสามารถมีไว้ครอบครองได้คนละไม่เกิน 4 ชิ้น (โดยใน 4 ชิ้นนั้นเป็นอย่างเดียวกันได้อย่างละไม่เกิน 2 ชิ้น) และรวมทั้งครอบครัวไม่เกิน 12 ชิ้น และรวมน้าหนักทั้งหมดไม่เกิน 0.5 กิโลกรัม (ครึ่งกิโลกรัม) หากใช้สิทธิ์ยกเว้นไม่แจ้งการครอบครอง ก็จะไม่สามารถจาหน่าย จ่าย โอน งาช้างนั้น เว้นแต่ เป็นการโอนหรือตกทอดทางมรดก ซึ่งผู้รับมรดกต้องครอบครองไม่เกินจานวนที่กาหนด
กรมอุทยานแห่งชาติฯ แจ้งผู้มี ‘งาช้างบ้าน’ รีบมาขึ้นทะเบียนทำบัญชีการครอบครองให้ถูกต้อง หลังมีการแก้กฎหมายและตรา พ.ร.บ.ใหม่ เข้มงวดปราบปรามผู้ค้างาช้าง ชี้หากเลยวันที่ 21 เม.ย. 58 ไปแล้ว ตรวจพบ จะถูกดำเนินคดีทันที
... จากนโยบายของ คสช. ที่มีแนวทางป้องกันปัญหาอาชญากรรมค้าสัตว์ป่า พร้อมเห็นชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอย่างจริงจัง หวังฟื้นความเชื่อมั่นจากต่างชาติ เนื่องจากประเทศไทย เป็น 1 ใน 8 ประเทศที่ถูกจับตาเป็นพิเศษ เกี่ยวกับปัญหาการลักลอบค้างาช้างแบบผิดกฎหมาย และเป็นตลาดค้างาช้างที่สำคัญของโลก อาจทำให้โดนนานาชาติคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจการค้าได้ ทางกรมอุทยานแห่งชาติฯจึงได้เร่งจัดระเบียบช้างบ้านในประเทศไทยให้เป็นระบบ พร้อมดำเนินการขึ้นทะเบียนบัญชีผู้ค้างาช้างบ้านของไทย ให้เป็นปัจจุบัน
การแจ้งการครอบครองงาช้างบ้านถูกกฎหมาย เมื่อแจ้งการครอบครองไว้แล้ว หากประสงค์ จะโอนให้บุคคลอื่น เปลี่ยนแปลงสถานที่ครอบครองงาช้างนั้น แปรสภาพหรือเปลี่ยนรูปร่างงาช้างในความครอบครอง ผู้ครอบครองสามารถกระทำได้ เพียงแต่ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนดำเนินการ
การครอบครองงาช้างตามพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558
1. ความหมายคำว่า ช้าง และงาช้า (บทนิยาม พ.ร.บ.งาช้าง พ.ศ. 2558 มาตรา 3)
ช้าง หมายถึง ช้างที่เป็นสัตว์พาหนะตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ ซึ่งก็คือ ช้างบ้าน นั่นเอง
งาช้าง หมายถึง งา ขนาย หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากงาหรือขนายของช้าง ทั้งที่ยังมีชีวิตหรือที่ตายแล้ว
2. เมื่อพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้ (22 มกราคม 2558) ผู้ครอบครองงาช้างต้องทำอย่างไร
ผู้ครอบครองงาช้างต้องตรวจดูว่า ถ้าเป็นงาช้างสมบูรณ์ งาท่อน (รวมถึงงาช้างแกะสลัก) หรือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากงาช้าง เช่น เครื่องประดับ ของใช้สอย เครื่องมือ อุปกรณ์หรือสิ่งของใดๆ ที่ทำมาจากงาช้าง หรือมีงาช้างเป็นส่วนประกอบ ซึ่งได้มาจาก งาช้างบ้าน (ช้างที่เป็นสัตว์พาหนะ) ต้องแจ้งการครอบครองตามพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 ต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชตามพระราชบัญญัติงาช้าง มี 2 กรณี ดังนี้
(1) กรณีที่ครอบครองอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 ใช้บังคับ (22 ม.ค. 2558) ต้องแจ้งการครอบครองภายในวันที่ 21 เมษายน 2558 หากฝ่าฝืนไม่แจ้งการครอบครองภายในกาหนดเวลา มีโทษปรับไม่เกิน 3 ล้านบาท
(2) กรณีได้มาหลังจากพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 ใช้บังคับแล้ว (ได้มาตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค. 2558 เป็นต้นมา) ต้องแจ้งการครอบครองภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้งาช้างนั้นมา หากฝ่าฝืนไม่แจ้งการครอบครองภายในกาหนดเวลา มีโทษปรับไม่เกิน 3 ล้านบาทงาช้างหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากงาช้างแมมมอธ ไม่ต้องแจ้งการครอบครอง เพราะไม่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และไม่อยู่ในบัญชีไซเตส CITES
งาช้างแอฟริกา เป็นซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง ต้องแจ้งการครอบครองตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557 ต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2558 ถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2558 เมื่อพ้นกาหนดระยะเวลาดังกล่าวฝ่าฝืนมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้แจ้งการครอบครอง มีความผิดต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ รวมถึง งาช้างป่า (ช้างเอเชีย) ซึ่งเป็นซากของสัตว์ป่าคุ้มครองซึ่งห้ามมีไว้ครอบครอง เว้นแต่ ได้แจ้งการครอบครองไว้แล้วตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2535 หากฝ่าฝืนมีความผิดเช่นเดียวกัน
ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ทาจากงาช้าง เช่น เครื่องประดับ ของใช้สอย เครื่องมือ อุปกรณ์หรือสิ่งของใด ๆ ที่ทามาจากงาช้าง หรือมีงาช้างเป็นส่วนประกอบ ซึ่งได้มาจากงาช้างแอฟริกา หรือ งาช้างป่า (ช้างเอเชีย) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทาจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครองต้องแจ้งการครอบครองต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557 (ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2558 ถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2558) เมื่อพ้นกาหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว หากถูกตรวจสอบพบว่ามีไว้ครอบครองซึ่งผลิตภัณฑ์งาช้างแอฟริกา หรือผลิตภัณฑ์งาช้างป่า อาจเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 55 ฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจาหน่าย ช่วยพาเอาไป ซื้อ รับจานา หรือ รับไว้โดยประการใดซึ่งสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากซากของสัตว์ป่าอันได้มาโดยกระทำความผิด ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งพิจารณาร่างกฎหมายงาช้างซึ่งเห็นว่า การจำแนกงาช้างสัตว์พาหนะ (ช้างบ้าน) และช้างป่าที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองซึ่งเป็นช้างเอเชียชนิดเดียวกันน่าจะกระทำได้ยาก อาจทาให้เกิดความยุ่งยากในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งต้องใช้หลักฐานตั๋วรูปพรรณช้างเป็นหลักฐานในการตรวจสอบการได้มาซึ่งงาช้างได้ และเห็นว่ากรมการปกครองต้องกาหนดให้เจ้าของช้างที่เป็นสัตว์พาหนะต้องลงรหัสพันธุกรรมช้าง (DNA) ของช้างแต่ละเชือกลงในตั๋วรูปพรรณช้างรูปแบบใหม่ให้เสร็จภายในเดือนมีนาคม 2558 เพื่อป้องกันการสวมตั๋วรูปพรรณช้างที่เป็นสัตว์พาหนะและช้างป่าที่เป็นสัตว์คุ้มครอง
3. ถ้ามีงาช้างอยู่เล็กน้อย และไม่ได้ทำการค้า ไม่ต้องแจ้งการครอบครองจะได้หรือไม่
กฎหมายยกเว้นให้หน่วยงานของรัฐที่ไม่ต้องแจ้งการครอบครองงาช้างทุกลักษณะทุกขนาด แต่สาหรับบุคคลทั่วไปแล้ว ยกเว้นการแจ้งการครอบครองให้เฉพาะในกรณีที่การครอบครองผลิตภัณฑ์งาช้างบ้านที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า ซึ่งกฎกระทรวงได้กาหนดให้บุคคลทั่วไปสามารถมีไว้ครอบครองได้คนละไม่เกิน 4 ชิ้น (โดยใน 4 ชิ้นนั้นเป็นอย่างเดียวกันได้อย่างละไม่เกิน 2 ชิ้น) และรวมทั้งครอบครัวไม่เกิน 12 ชิ้น และรวมน้าหนักทั้งหมดไม่เกิน 0.5 กิโลกรัม (ครึ่งกิโลกรัม) หากใช้สิทธิ์ยกเว้นไม่แจ้งการครอบครอง ก็จะไม่สามารถจำหน่าย จ่าย โอน งาช้างนั้น เว้นแต่ เป็นการโอนหรือตกทอดทางมรดก ซึ่งผู้รับมรดกต้องครอบครองไม่เกินจำนวนที่กาหนดยกเว้นนี้ด้วย
ดังนั้น หากเป็นงาช้างสมบูรณ์หรืองาท่อน ต้องแจ้งการครอบครอง หรือหากเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นใหญ่รวมน้าหนักเกินครึ่งกิโลกรัมก็ต้องแจ้งการครอบครองตามที่กฎหมายกำหนด
4. การแจ้งการครอบครองงาช้างบ้านตามพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 ต้องยื่นเอกสารใดเพื่อเป็นหลักฐานการได้มาอย่างถูกกฎหมายของงาช้างนั้น
หลักฐานสาคัญที่ใช้ยื่น ได้แก่ สาเนาตั๋วรูปพรรณของช้างที่เป็นที่มาของงาช้างนั้น ใบรับรองที่มาของงาช้างนั้นตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ เอกสารหลักฐานใด ๆ ที่เป็นที่มาของงาช้างในความครอบครอง เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย และแบบบันทึกชี้แจงการได้มาซึ่งงาช้างนั้นพร้อมพยานยืนยันที่น่าเชื่อถืออย่างน้อย 1 คน
5. เมื่อแจ้งการครอบครองงาช้างแล้วจะสามารถโอนให้คนอื่นได้หรือไม่
กรณีการแจ้งการครอบครองงาช้างบ้านถูกกฎหมาย เมื่อแจ้งการครอบครองไว้แล้ว หากประสงค์ จะโอนให้บุคคลอื่น เปลี่ยนแปลงสถานที่ครอบครองงาช้างนั้น แปรสภาพหรือเปลี่ยนรูปร่างงาช้างในความครอบครอง ผู้ครอบครองสามารถกระทำได้ เพียงแต่ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนดาเนินการ
6. การครอบครองงาช้างตามพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 จะทำการค้างาช้างต่อไปได้หรือไม่
คาว่า “ค้า” หมายถึง ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จาหน่าย จ่าย แจก หรือโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ ทำเป็นปกติ และเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และหมายความรวมถึง มีหรือแสดงไว้เพื่อการค้าด้วย (มาตรา 3)หากเป็น ร้านค้างาช้างเดิม ซึ่งมีอยู่ก่อนพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 ใช้บังคับ (วันที่ 22 ม.ค. 2558) ผู้ค้างาช้างต้องไปแจ้งการครอบครองงาช้างในความครอบครองและต้องยื่นคาขออนุญาตค้างาช้างต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ภายในวันที่ 21 เมษายน 2558 ก่อนจึงจะทาการค้างาช้างต่อไปได้และต้องมีหน้าที่จัดทาบัญชีการได้มา บัญชีการแปรรูป และบัญชีการค้างาช้าง ที่สาคัญคือ งาช้างที่จะทำการค้าได้ต้องเป็นงาช้างที่ได้มาจากช้างที่เป็นสัตว์พาหนะ (ช้างบ้าน) และต้องได้รับการตรวจสอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเท่านั้น
ส่วน ผู้ประสงค์จะทำการค้างาช้างรายใหม่ หลังจากที่มีพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 ใช้บังคับแล้ว ต้องรอกฎกระทรวงกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขออนุญาตตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 มีผลใช้บังคับก่อน จากนั้น ผู้ประสงค์จะทำการค้างาช้างรายใหม่ก็สามารถยื่นคาขออนุญาตค้างาช้างต่ออธิบดีได้ หากผู้ใดฝ่าฝืนทาการค้างาช้างโดยไม่ได้ยื่นคาขออนุญาตมีความผิดต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ งาช้างที่จะทำการค้า หมายถึง งาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้างที่ได้มาจากช้างที่เป็นสัตว์พาหนะที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
ตามความในมาตรา 4 กาหนดไว้ว่า “ผู้ใดประสงค์จะค้างาช้าง ให้ยื่นคาขออนุญาตต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต การค้า และการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง” และพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 ได้กาหนดอัตราค่าธรรมเนียมไว้ท้ายบัญญัตินี้ คือ
(1) ใบอนุญาตให้ค้างาช้าง ฉบับละ 50,000 บาท
(2) ใบอนุญาตให้นำเข้า ส่งออก หรือนาผ่านซึ่งงาช้าง ฉบับละ 50,000 บาท
(3) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 1,000 บาท
ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติงาช้างนี้ มาตรา 20 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียม และกาหนดกิจการอื่นหรือออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวงกาหนดค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยงาช้าง พ.ศ. 2558 ได้กาหนดค่าธรรมเนียม โดยใบอนุญาตให้ค้างาช้าง ฉบับละ 5,000 บาท ใบอนุญาตให้นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งงาช้าง ฉบับละ 1,000 บาท และใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 500 บาท
7. เมื่อแจ้งครอบครองงาช้างแล้วจะถูกริบงาช้างที่แจ้งหรือไม่
งาช้างบ้าน ที่ต้องแจ้งตามพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 ภายในวันที่ 21 เมษายน 2558 นั้น ซึ่งการครอบครองงาช้างบ้านแต่เดิมสามารถทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อแจ้งการครอบครองแล้วผู้ครอบครองสามารถครอบครองต่อไปได้ แต่ถ้าหากพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุสงสัยว่างาช้างนั้นไม่ใช่งาช้างบ้านที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ลักลอบเอางาช้างป่า หรืองาช้างแอฟริกา มาสวมแจ้งครอบครองเป็นงาช้างบ้าน ก็อาจเสนอให้อธิบดี มีคาสั่งให้ผู้ครอบครองพิสูจน์ว่างาช้างนั้นเป็นงาช้างบ้านที่ถูกกฎหมาย แต่หากพิสูจน์ไม่ได้งาช้างนั้นจึงจะตกเป็นของแผ่นดิน
งาช้างแอฟริกา ที่ต้องแจ้งตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557 ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ต้องแจ้งการครอบครองตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม ถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2558 นั้น เนื่องจากการจะนำงาช้างแอฟริกาเข้ามาในประเทศต้องได้รับใบอนุญาตให้นำเข้าตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ดังนั้น
- หากได้งาช้างแอฟริกามาในวันที่พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ (ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2535 เป็นต้นมา) ต้องแจ้งการครอบครองพร้อมแสดงเอกสารหลักฐานการนำเข้าหรือหลักฐานการได้มาที่ถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่สามารถแสดงได้กฎหมายกาหนดให้งาช้างแอฟริกานั้นตกเป็นของแผ่นดิน
- หากได้งาช้างแอฟริกามาก่อนวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2535 (วันที่ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ) ต้องแจ้งการครอบครองพร้อมแสดงเอกสารหลักฐานที่ชัดเจนที่แสดงว่าได้ครอบครองงาช้างแอฟริกานั้นมาก่อนวันที่พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ เมื่อแจ้งครอบครองแล้วสามารถครอบครองต่อไปได้ แต่จะทำการค้างาช้างแอฟริกาไม่ได้
8. เจ้าหน้าที่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาในการสั่งให้ตรวจพิสูจน์งาช้างที่แจ้งครอบครองไว้ อย่างไรบ้าง
ตามกฎหมายประกาศกาหนดเหตุอันควรสงสัยไว้มี 4 ประการ คือ
(1) เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับงาช้างมีข้อพิรุธ เช่น มีการปลอมแปลง แก้ไข ลบเลือนหรือมีรายละเอียดต่าง ๆ ที่ไม่ชัดเจนหรือไม่สอดคล้องกับสภาพของงาช้างนั้น
(2) ลักษณะ ขนาด น้าหนัก รูปร่าง จานวน ไม่สอดคล้องกับบัญชีชนิดและจานวนของงาช้าง ข้อชี้แจง หรือเอกสารการได้มาซึ่งงาช้างนั้น
(3) มีการแจ้งเหตุหรือมีข้อร้องเรียนที่มีผู้แจ้งหรือผู้ร้องเรียนชัดเจนสามารถตรวจสอบได้ และมีข้อมูลหรือมีพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือ
(4) มีข้อมูลหรือมีพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ที่ได้มาจากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องว่างาช้างนั้นมิใช่งาช้างที่ได้มาจากช้างตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ
ดังนั้น เหตุอันควรสงสัยต้องเข้าองค์ประกอบทั้ง 4 ประการดังกล่าว จึงจะสามารถสั่งพิสูจน์งาช้างได้
ข้อสังเกตประเด็นปัญหาในทางปฏิบัติ การพิสูจน์จาแนกงาช้างแอฟริกากับงาช้างเอเชียนั้นอาจไม่สามารถจำแนกทางกายภาพได้ โดยเฉพาะงาช้างที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก และงาช้างที่นำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้ว เพราะการตรวจจาแนกชนิดต้องใช้วิธีการตรวจสอบทางพันธุกรรม (DNA) หากเป็นผลิตภัณฑ์งาช้างชิ้นเล็กๆ แล้ว การตรวจสอบอาจทาให้ผลิตภัณฑ์นั้นเสียหายเพราะต้องทาการบดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพื่อนามาสกัดสารพันธุกรรม (DNA)
พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 มีเจตนาและมุ่งหมายประการสาคัญคือ
(1) เพื่อควบคุมการค้า การครอบครอง การนำเข้า การส่งออก และการนำผ่านซึ่งงาช้างหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากงาช้างตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ
(2) เพื่อป้องกันการนำช้างป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่ามาสวมสิทธิและจดทะเบียนเป็นสัตว์พาหนะเพื่อตัดงาช้าง และป้องกันการลักลอบนำเข้างาช้างแอฟริกาเพื่อนำมาค้า หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากงาช้าง
(3) เพื่ออนุวัติกฎหมายให้เป็นไปตามข้อตกลงของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES))
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 มีมาตรการควบคุมทางอาญาที่รุนแรงและมีโทษปรับสูงกว่าที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 โดยเน้นงาช้างเป็นสาคัญ ห้ามการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านงาช้าง นอกจากจะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (มาตรา 5) แต่ถ้าจะค้างาช้างที่ได้มาจากสัตว์พาหนะต้องขออนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (มาตรา 4) หากมีการฝ่าฝืนไม่ขออนุญาตและนำงาช้างไปทาการค้ามีความผิดต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 ล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่ว่าจะเป็นค้างาช้างที่ได้จากสัตว์พาหนะหรืองาช้างที่นำเข้ามาเพื่อเป็นสัตว์พาหนะก็ตาม สาหรับเจ้าของช้างที่ได้งาช้างมาซึ่งครอบครองไว้แต่ไม่ประสงค์จะค้างาช้าง ก็ต้องแจ้งการครอบครองงาช้างนั้น พร้อมด้วยหลักฐานต่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อจะได้รับหนังสือรับรองการครอบครองงาช้าง แต่ถ้าไม่แจ้งผู้ครอบครองก็จะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 3 ล้านบาทตามมาตรา 14
ดังนั้น ข้อดีของพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 คือ เป็นการอนุวัติกฎหมายตามข้อตกลงของอนุสัญญาไซเตส (CITES) เพื่อให้มีมาตรการควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศอย่างเป็นระบบ การควบคุมการค้างาช้างที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์พาหนะ และเพื่อให้ครอบคลุมถึงการนำงาช้างทุกประเภทให้ถูกควบคุมในการนางาช้างมาค้า และกระบวนการพิสูจน์ว่าเป็นช้างที่เพาะพันธุ์หรือช้างป่า หรือช้างที่เป็นสัตว์พาหนะ ทั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มประเทศภาคีสมาชิกตามอนุสัญญาไซเตส (CITES) ได้ติดตามสถานการณ์ในการปราบปรามการลักลอบค้างาช้างของไทย จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการควบคุมงาช้างอย่างจริงจังและเคร่งครัดเพื่อประเทศไทยจะได้ไม่ถูกกีดกันทางการค้าจากกลุ่มภาคีสมาชิกตามอนุสัญญา ไซเตส (CITES)
อย่างไรก็ดี กระบวนการในการบังคับใช้และการติดตามผู้ครอบครองงาช้างรวมถึงการค้างาช้าง หรือผลิตภัณฑ์อันเกิดจากงาช้างนั้น เป็นอีกกลไกหนึ่งที่จะทำให้งาช้างได้รับการคุ้มครอง ซึ่งเป็นผลต่อไปว่าช้างป่าที่มีชีวิตจะได้รับการคุ้มครองจากการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้เช่นกัน